วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555


                                                                                                    นางสาวมยุรี    หลีกเลี่ยง
                                                                                                  รหัส  53181020130 ชั้นปีที่ 3

คณะครุศาสตร์  สาขาวิชา  ภาษาอังกฤษ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) 


ในปี 2558 ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน ตกลงกันจะก้าวสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) 

         โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนับเป็น "จุดเปลี่ยน" ครั้งสำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านการค้าคงเป็นการค้าในภูมิภาคมากขึ้น แทนที่ตลาดหลักเดิม ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญอยู่ จุดยืนของไทยก็ควรรุกสินค้าที่เราได้เปรียบและขยายตลาดไปตามข้อตกลงใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาเซียนบวก 3 บวก 6 และบวกอียูก็ตาม          ด้านแรงงานจะมีการแข่งขันมากขึ้น เพราะว่านายจ้างมีทางเลือกจ้างงานในประชากรอาเซียนที่มีค่าแรงถูกกว่า เชิงของแรงงานทักษะทั้งหลายต้องเพิ่มความรู้ภาษาต่างประเทศเป็นภาษาที่สอง หรือสาม หรือปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากลมากขึ้น
ประเทศในกลุ่มอาเซียน มีทั้งหมด 10 ประเทศเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ นั่นคือ

  1. บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
  2. ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
  3. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People’s Democratic Republic of Lao PDR)
  4. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
  5. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
  6. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)
  7. ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
  8. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)
  9. สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
  10. ประเทศไทย (Kingdom of Thailand)

ดอกไม้และชุดประจำชาติของประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียน

เริ่มที่บรูไนก่อน ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเศรษฐีน้ำมันแห่งเอเชีย การแต่งตัวค่อนข้างผสมกันระหว่างมาเลย์กับจีน 
ชื่อภาษาท้องถิ่น - เนการาบรูไนดารุสซาลาม
ดอกซิมปอร์ อาจจะไม่เคยได้ยินกัน เพราะเป็นดอกไม้ในท้องถื่น





 ราชอาณาจักรกัมพูชาเมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน
ดอกลำดวน อาจจะเคยได้ยินชื่อกันนะ





อินโดนีเซีย ชาวอินโดนีเซียส่วนมากเป็นชาวเกาะครับเป็นประเทศที่มีเกาะมากถึง 30,000 กว่าเกาะ ซึ่งทุกวันนี้ยังค้นพบได้เรื่อยๆ

ชื่อภาษาท้องถิ่น - เนการา เคซาตวน เรปูบลิก อินโดเนเซีย
ดอกกล้วยไม้ราตรี





ลาว เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดเราที่สุด    ภาษา วัฒนธรรม และชุดประจำชาติค่อนข้างคล้ายภาคอีสานของไทย   ชื่อภาษาท้องถิ่น - สาทาละนะลัต ปะซาทิปะไต ปะซาซนลาว


ดอกจำปาลาว หรือที่ภาษาไทยเรียกว่าดอกลีลาวดี หรือชื่อเก่า ลั่นทม คงรู้จักกันดี





มาเลเซีย ทางใต้ของเรา เนื่องจากเป็นประเทศมุสลิม ชุดประจำชาติก็จะคล้ายๆชุดมุสลิม
ชื่อภาษาท้องถิ่น - เปร์เซกูตาน มาเลเซีย




ดอกชบา ตอนนี้เหลือต้นเดียวที่บ้านครับ ไม่ได้เห็นดอกนานมากแล้ว






พม่า ชุดคล้ายๆทางภาคเหนือของไทย มีวัฒนธรรมและชุดประจำชาติค่อนข้างคล้ายกันครับ (ล้านนา) 
ชื่อภาษาท้องถิ่น - ปี่เด่าง์ซุ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ


ดอกประดู่ หลายๆคนอาจรู้จักนะคะ





ฟิลิปปินส์ เกาะทางตะวันออกของอาเซียน แต่วัฒนธรรมและศาสนาค่อนข้างต่างกับในเอเชีย จนเคยมีนักเดินเรือชาวอังกฤษตั้งคำขวัญว่า"ประเทศฟิลิปินส์เป็นส่วนนึงของละตินอเมริกาที่โดนคลื่นพัดมาทางเอเชีย"  ชื่อภาษาท้องถิ่น - เรปูบลิกา นัง ปิลิปินัส


ดอกไม้ประจำชาติคือดอกพุดแก้วครับ



สิงคโปร์ ดูเป็นชุดจีนมาก   เพราะประชากรส่วนมากของสิงคโปร์เป็นชาวจีน ส่วนที่เหลือก็มีชาวชวา มาเลย์ อินเดีย และอื่นๆ ชื่อภาษาท้องถิ่น ภาษาอังกฤษ -รีพับลิก ออฟ สิงคโปร์
ภาษาจีน - ซินเจียโพ ก่งเหอกั๋ว



ดอกกล้วยไม้ตระกูลแวนด้า





ชุดประจำชาติไทยก็เป็นที่คุ้นตากันกับชาวไทยแลนด์แดนแฮปปี้ของเรา เพราะงั้นคงเดากันไม่ยากนะครับ แต่ก่อนจะเลื่อนลงไปดูรูป ให้คุณผู้อ่านลองเดาดูก่อนดอกไม้ประจำชาติไทยเราคือดอกอะไร ? จะตรงกับที่คิดมั๊ย ถ้าพร้อมแล้ว ก็เลื่อนลงไปดูได้เลย
ชื่อภาษาท้องถิ่น - ราชอาณาจักรไทย



ดอกราชพฤกษ์ หรือเรียกง่ายๆว่าดอกคูณ เดากันถูกหรือเปล่า





และส่งท้ายด้วยเวียดนาม เนื่องจากมีพรมแดนติดประเทศจีนและรับวัฒนาธรรมจากจีนแผ่นดินใหญ่มามาก ดังนั้นชุดประจำชาติเวียดนามจะมีเอกลักษณ์คล้ายจีนมาก
ชื่อภาษาท้องถิ่น - ก่ง หั่ว สา โห่ย จู่ เหงียน เหวียต นาม

ดอกไม้ประจำเวียดนามคือ ดอกบัว นี่เอง




^^จบแล้วจ๊ะ  สนุกหรือเปล่า ความรู้เยอะแยะเลย^^